ที่สุดของรถไฟไทย
สถานีรถไฟ-ที่หยุดรถ ที่ตั้งอยู่ใกล้กันมากที่สุด
การเคหะ - รางสะแก ระยะห่าง 0.30 กม.
บางซื่อ - บางซื่อ2 ระยะห่าง 0.37 กม.
อุรุพงษ์ - ยมราช ระยะห่าง 0.47 กม.
บางบอน - การเคหะ ระยะห่าง 0.47 กม.
ดอนเมือง - ตลาดใหม่ดอนเมือง ระยะห่าง 0.52 กม.
มักกะสัน - ราชปรารภ ระยะห่าง 0.58 กม.
ธนบุรี - จรัญสนิทวงศ์ ระยะห่าง 0.67 กม.
หัวตะเข้ - พระจอมเกล้า ระยะห่าง 0.75 กม.
บ้านแหลม - ท่าฉลอม ระยะห่าง 0.84 กม.
หลักหก - คลองรังสิต ระยะห่าง 0.87 กม.
ราชปรารภ - พญาไท ระยะห่าง 0.92 กม.
จันเสน - โรงเรียนจันเสน ระยะห่าง 0.97 กม.
ราชบุรี - สะพานจุฬาลงกรณ์ ระยะห่าง 1.02 กม.
อุรุพงษ์ - พญาไท ระยะห่าง 1.03 กม.
สถานีรถไฟที่ตั้งอยู่ไกลกันที่สุด
ชุมทางหนองปลาดุก - สุพรรณบุรี ระยะห่าง 77.41 กม.
อุดรธานี - หนองคาย ระยะห่าง 52.26 กม.
ที่วัง - ห้วยยอด ระยะห่าง 35.25 กม.
บ้านแหลม - แม่กลอง ระยะห่าง 33.57 กม.
สระแก้ว - วัฒนานคร ระยะห่าง 31.61 กม.
ชุมทางทุ่งโพธิ์ - คีรีรัฐนิคม ระยะห่าง 31.00 กม.
ชุมทางคลอง 19 - องครักษ์ ระยะห่าง 29.40 กม.
ห้วยยอด - ตรัง ระยะห่าง 28.46 กม.
ชุมทางหาดใหญ่ - คลองแงะ ระยะห่าง 24.06 กม.
ลำนารายณ์ - สุรนารายณ์ ระยะห่าง 23.00 กม.
ชุมทางรถไฟที่อยู่ใกล้กันที่สุด
ชุมทางบางซื่อ2 - ชุมทางตลิ่งชัน ระยะห่าง 14.29 กม.
ชุมทางทุ่งสง - ชุมทางเขาชุมทอง ระยะห่าง 24 กม.
ชุมทางฉะเชิงเทรา - ชุมทางคลอง 19 ระยะห่าง 24.43 กม.
ชุมทางบ้านภาชี - ชุมทางแก่งคอย ระยะห่าง 35.15 กม.
ชุมทางศรีราชา - ชุมทางเขาชีจรรย์ ระยะห่าง 49.39 กม.
สถานีรถไฟ/ที่หยุดรถต่างๆ
สถานีระดับ 1 ที่มีรางหลีกน้อยที่สุด คือ สถานีรถไฟปัตตานี
สถานีรถไฟแห่งเดียวที่มีเจ้าของร่วม 2 ชาติ คือ สถานีรถไฟปาดังเบซาร์
ย่านรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ย่านสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่
สถานีระดับพิเศษแห่งเดียวที่ไม่มีการโดยสาร คือ สถานีรถไฟ ICD ลาดกระบัง
ที่หยุดรถเพียง 2 แห่งที่มีขบวนรถเร็วหยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร คือ ที่หยุดรถไฟกะปาง (ขบวน 167/168) และ ที่หยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ (ขบวน 177/178)
สถานีปลายทาง (เส้นทางหลัก) ที่มีขบวนรถเข้า-ออกมากที่สุด ไม่นับหัวลำโพง คือ สถานีรถไฟอุบลราชธานี จำนวน 22 ขบวน/วัน
สถานีปลายทาง (เส้นทางแยก) ที่มีขบวนรถเข้า-ออกมากที่สุด ไม่นับหัวลำโพง คือ สถานีรถไฟธนบุรี จำนวน 12 ขบวน/วัน
อุโมงค์
อุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ อุโมงค์ขุนตาล ความยาว 1,352 เมตร
อุโมงค์รถไฟที่ไม่ได้ลอดใต้ภูเขา แห่งเดียวในประเทศไทย คือ อุโมงค์หัวหิน(บ่อฝ้าย) ลอดใต้ทางวิ่งสนามบินหัวหิน
จำนวนสถานีรถไฟ
จังหวัดที่มีสถานีรถไฟมากที่สุดคือจังหวัดนครราชสีมามี 39 สถานี
จังหวัดที่มีสถานีรถไฟน้อยที่สุดคือจังหวัดสุพรรณบุรีมี 1 สถานี
[แก้] สถานีรถไฟที่มีชื่อประจำจังหวัด แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง
สถานีรถไฟอุบลราชธานี ตั้งอยู่ในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ในอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สถานีรถไฟปัตตานี ตั้งอยู่ในอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
สถานีรถไฟที่เป็นย่านสินค้า
สถานีรถไฟเชียงใหม่ ขบวนรถสินค้าทั่วไปที่ 601/602 และ ขบวนรถน้ำมันที่ 641/642
สถานีรถไฟลำพูน ขบวนรถปูนซีเมนต์ที่ 693/694 (ปัจจุบันนี้ไม่มีเดิน แต่จะฝากพ่วงมากับขบวนที่ 641/642 แทน)
สถานีรถไฟแม่เมาะ ขบวนรถปูนซีเมนต์ที่ 603/604
สถานีรถไฟบึงพระ ขบวนรถน้ำมันดิบหลายขบวน
สถานีรถไฟนครลำปาง ขบวนรถก๊าซที่ 651/652 และขบวนรถน้ำมันที่ 643/644, 673/674
สถานีรถไฟนครสวรรค์ ขบวนรถก๊าซที่ 655/656
สถานีรถไฟพหลโยธิน ขบวนรถสินค้าทั่วไปหลายขบวน
สถานีรถไฟอุบลราชธานี ขบวนรถน้ำมันที่ 541/542
สถานีรถไฟขอนแก่น ขบวนรถน้ำมันที่ 535/536
สถานีรถไฟสำราญ ขบวนรถก๊าซที่ 531/532, 533/534
สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ ขบวนรถบรรทุกตู้สินค้าที่ 501/502
สถานีรถไฟบ้านเกาะ ขบวนรถบรรทุกตู้สินค้าที่ 539/540
สถานีรถไฟท่าพระ ขบวนรถบรรทุกน้ำตาลที่ 2019/2020
สถานีรถไฟบ้านช่องใต้ ขบวนรถปูนซีเมนต์ที่ 521/522, 523/524
สถานีรถไฟหินลับ ขบวนรถปูนซีเมนต์ที่ 581/582, 583/584, 585/586
สถานีรถไฟท่าเรือแหลมฉบัง และ ICD ลาดกระบัง ขบวนรถบรรทุกตู้สินค้าหลายขบวน
สถานีรถไฟเปรง ขบวนรถปูนซีเมนต์ที่ 565/564, 567/566
สถานีรถไฟชุมพร
สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี
สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง
สถานีรถไฟควนเนียง ขบวนรถปูนซีเมนต์ที่ 721/722
สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ มีย่านรถสินค้าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย